กานพลู (Clove)

กานพลู (Clove)

กานพลู (Clove) เครื่องเทศ
กานพลู เป็นพืชพื้นเมืองของประเทศฟิลิปปินส์ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ภาษาจีนเรียกว่า “เต็งฮยง” เป็นเครื่องเทศและยาที่ใช้ในแถบเอเชีย ทั้งจีน อินเดีย ไทย มากว่า 2,000 ปี ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์คือส่วนดอกตูมที่มีฐานดอกใหญ่ การเก็บเกี่ยวกานพลูจะทำเมื่อก้านดอกเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีแดง ซึ่งถ้ายิ่งแก่จะมีกลิ่นหอมและมีรสชาติเผ็ด กานพลูที่ดีควรแห้งสนิท และมีดอกขนาดใหญ่ กานพลูที่บานแล้วจะมีสรรพคุณทางยาต่ำกว่าดอกตูม และกานพลูที่ผ่านการสกัดเอาน้ำมันออกแล้ว ก็จะมีสรรพคุณทางยาต่ำลงเช่นกัน กานพลูเป็นเครื่องเทศที่นำไปใช้มากในอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ซุปและซอสต่างๆ เช่น แกงมัสมั่น แกงกะหรี่ ข้าวหมกไก่ สตูว์ เนื้อตุ๋น กานพลูมีกลิ่นหอมฉุน และมีคุณสมบัติในการช่วยทำให้รสกลมกล่อมขึ้น นอกจากนั้นกานพลูยังสามารถช่วยถนอมอาหาร ป้องกันการหืน และยังมีฤทธิ์ไล่แมลงอีกด้วย
สรรพคุณ

  • กานพลูมีฤทธิ์อุ่น เผ็ดร้อน กลิ่นหอม จึงช่วยรักษาอาการท้องอึดเฟ้อ จุกเสียด อาหารไม่ย่อย ท้องเสีย ลดกรดในกระเพาะ และลดการบีบตัวของลำไส้
  • ในกานพลูมีน้ำมันหอมระเหยชื่อ ยูจีนอล (eugenol) สูง ซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาแก้ปวด ยาชา แก้ปวดฟัน แก้อักเสบ รักษาโรคเหงือก แก้เลือดออกตามไรฟัน ระงับแบคทีเรียและกลิ่นปากได้ดี
  • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของม้าม กระเพาะ และไต ช่วยอุ่นกระเพาะอาหาร แก้อาเจียน และแก้อาการสะอีก
  • กานพลูมีแมงกานีสสูง มีโอเมกา 3 วิตามินเค วิตามินชี เส้นใย มีแคลเซียมและแมกนีเซียมเล็กน้อยจึงเป็นประโยชน์ต่อร่างกายในหลายด้าน

วิธีใช้

  • เคี้ยวกานพลูแห้ง 1-2 ดอก หลังมื้ออาหาร เพื่อช่วยลดกลิ่นปาก ช่วยให้ปากสะอาด และช่วยลดอาการท้องอืดจากอาหารไม่ย่อย
  • ต้มกานพลูแห้งกับชา ดื่มเป็นประจำ ช่วยลดอาการเบื่ออาหาร อาหารไม่ย่อย มีกรดในกระเพาะ
  • บดกานพลูแห้ง 1 ดอก ผสมกับนมครึ่งลิตร ดื่มลดอาการท้องอืดในเด็กที่อายุมากกว่า 2 ปี

ข้อควรระวัง

  • ผู้ที่เป็นไข้ อาเจียน ร้อนใน ห้ามกิน