ขมิ้นชัน (Turmeric)

ขมิ้นชัน (Turmeric)

ขมิ้นชัน (Turmeric) เครื่องเทศ
ขมิ้นชัน มีชื่อเรียกหลายชื่อแตกต่างออกไปตามท้องถิ่น เช่น ขมิ้น ขมิ้นป่า ขมิ้นทอง ขมิ้นดี ขมิ้นแกง ขมิ้นหัว ขี้หมิ้น หมิ้น เป็นพืชล้มลุกอายุหลายปี ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์คือส่วนของลำต้นใต้ดินที่เรียกว่าเหง้า โดยนิยมนำมาปรุงช่วยเพิ่มสีสันแต่งกลิ่นและรสชาติของอาหาร ใช้ประกอบอาหารหลายชนิดโดยเฉพาะอาหารทางภาคใต้ เช่น แกงเหลือง แกงไตปลา แกงกะหรี่ ไก่ทอดขมิ้น เป็นต้น สรรพคุณของขมิ้นชันมีมากมาย เช่น ช่วยรักษาโรคลำไส้อักเสบ ช่วยลดการบีบตัวของลำไส้ ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร กระตุ้นการหลังสารเมือกมาเคลือบกระเพาะอาหาร ยับยั้งการหลั่งน้ำย่อยและช่วยสมานแผล ขมิ้นชัน มีสารประกอบเคอร์คูมิน (curcumin) ช่วยต้านการอักเสบ ต้านการเกิดมะเร็ง และเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
สรรพคุณ

  • ใช้เหง้าบรรเทาอาการปวดท้อง ท้องอืด แน่นจุกเสียด ขับลม รักษาแผลในกระเพาะอาหาร แก้ท้องร่วง
  • เหง้าขมิ้นพบว่ามีวิตามินเอ วิตามินซีและวิตามินซี ที่เข้าสู่ร่างกายแล้วจะทำงานพร้อมกันทั้ง 3 ตัว
  • น้ำมันหอมระเหยในขมิ้นมีสรรพคุณต้านโรคร้ายที่เกิดจากอนุมูลอิสระอย่างมะเร็งได้ และการรับประทานขมิ้นพร้อมกับอาหารจะช่วยป้องกันมะเร็งในลำไส้
  • บำรุงร่างกายและช่วยบำรุงตับ รักษาระบบทางเดินหายใจที่ผิดปกติ หืด ไอ เวียนศีรษะ รักษาอาการปวดและอักเสบเนื่องจากไขข้ออักเสบ ป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด

วิธีใช้

  • ใช้ส่วนเหง้าของขมิ้นชันสีเหลืองตำหรือโขลกให้ละเอียดคั้นเอาแต่น้ำ ใช้ปรุงอาหาร ใช้ใส่สีขนมหรือแช่ในข้าวเหนียวจะได้ข้าวเหนียวสีเหลือง
  • ขมิ้นสดใสในแกงเหลือง แกงไตปลา หรือแกงอื่นๆ ที่ใส่ปลา เช่น ต้มปลาต้มส้ม เพราะขมิ้นใช้ดับกลิ่นคาวปลาได้
  • ใช้เหง้าประกอบอาหารหลายชนิดโดยเฉพาะอาหารทางภาคใต้ เช่น แกงเหลือง แกงไตปลา แกงกะหรี่ ไก่ทอดขมิ้น เป็นต้น ส่วนใบของขมิ้นชันจะนำมาเป็นผักเหนาะและส่วนผสมของข้าวยำปักษ์ใต้อีกด้วย

ข้อควรระวัง

  • สตรีมีครรภ์อ่อนๆ ไม่ควรกินขมิ้นชันในปริมาณมาก อาจจะทำให้แท้งได้
  • หากกินขมิ้นชันแล้วเกิดอาการแพ้ เช่น ท้องเสีย คลื่นไส้ ปวดหัว ควรหยุดรับประทานทันที