กุยช่าย (Chives)

กุยช่าย (Chives)

กุยช่าย (Chives) เครื่องเทศ
กุยช่าย เป็นพืชในตระกูลอัลเลียม เช่นเดียวกับกระเทียมและหัวหอม จึงมีกลิ่นแรงและฉุนจากสารประกอบพวกกำมะถัน กุยช่ายที่เราคุ้นเคยมี 3 ประเภท คือ กุยช่ายเขียว กุยช่ายขาว และดอกกุยช่าย ทั้ง 3 ประเภทแตกต่างกันตรงกระบวนการปลูกและการตัดส่วนมาขาย น้ำมันระเหยในกุยช่ายมีกลิ่นฉุน มีสารอัลลิชิน (Allicin) ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ลดความดันโลหิต ป้องกันมะเร็ง ในกุยช่ายประกอบด้วยเส้นใยอาหาร ทำให้ขับถ่ายสะดวก ท้องไม่ผูก ป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคริดสีดวงทวาร กุยช่ายกินได้ทั้งดอกและใบ ดอกกุยช่ายนิยมผัดกับตับหมู ส่วนใบกินสดกับก๋วยเตี๋ยวผัดไทย หมี่กะทิ หมี่กรอบ และใส่เป็นไส้ขนมกุยช่าย
สรรพคุณ

  • กุยชายมีฤทธิ์อุ่น รสเผ็ด ใบมีสรรพคุณลดการอักเสบและการติดเชื้อจากแบคทีเรีย แก้แมลงกัดต่อย ผื่นดัน ฟกช้ำ บวม แก้หูน้ำหนวก แก้หวัด เลือดกำเดาไหล แก้ท้องผูก แก้อาการปัสสาวะเป็นเลือด รักษาอาการแน่นหน้าอก และอาเจียนเป็นเลือด
  • เมล็ดใช้ขับพยาธิเส้นด้ายและพยาธิแส้ม้า รักษาอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ แก้อาการน้ำอสุจิเคลื่อนบ่อย แก้ตกขาว ปัสสาวะผิดปกติ และเลือดออกในช่องท้อง
  • ราก รักษาอาการแน่นหน้าอก ช้ำใน อาเจียนเป็นเลือด เลือดกำเดา ไหล แก้ตกขาว

วิธีใช้

  • ต้มกุยช่าย 60 กรัมกับเนื้อหอยกาบ 150 กรัม กินรักษาวัณโรค ไอแห้งๆ มีเหงื่อออกมาก และโรคเบาหวาน
  • นำกุยช่ายสดมาคั้นน้ำดื่ม แก้อาการห้อเลือดบริเวณท้อง
  • ผสมน้ำคั้นกุยช่าย 2 ช้อนโต๊ะ นมสดครึ่งแก้ว และน้ำขิงเล็กน้อย ดื่มรักษาอาการอาเจียน
  • ผัดดอกกุยช่ายกับตับหมู แก้อาการเหงื่อออกตอนกลางคืน แก้ท้องเสีย
  • เมล็ดกุยช่าย 10 กรัม ชงน้ำดื่ม รักษาอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

ข้อควรระวัง

  • ผู้ที่ระบบย่อยอาหารไม่ดี ไม่ควรกิน